ทำไมต้องตรวจน้ำก่อนที่จะลงเครื่องทำนำ้แข็งICEman

คุณลักษณะต่างของน้ำที่มีผลกระทบต่อการผลิตน้ำแข็ง

น้ำบาดาล  ที่ไม่สะอาด

  1. น้ำแข็งจะจับตัวช้า บางครั้งไม่เป็นก้อน มีลักษณะเป็นวุ้นใส ๆ
  2. รสชาติของน้ำแข็งจะออกมาลักษณะเฝื่อนๆ ไม่มีรสจืดสนิท
  3. นานไปหากมีคราบตกค้างภายในชุดผลิต อาจส่งผลให้เกิดเสียงดังระหว่างผลิตน้ำแข็ง ชุดบล๊อก อาจมีคราบจับตัวบล๊อค
  4. มีสนิมตามทางเดินของระบบน้ำ โดยเฉพาะเครื่องกรองน้ำจะตันเร็วขึ้น สกปรกง่าย
  5. จะทำให้เครื่องกรองน้ำผุเร็วขึ้น อายุการใช้งานสั้นลง
  6. เนื่องจากน้ำมีเกลือผสมอยู่จะทำให้เกิดตะกอนเกาะตามถังพักน้ำในเครื่อง น้ำไหลไม่สะดวก

ที่สำคัญ  หากไม่มีการตรวจสอบ น้ำ ก่อนที่จะมาทำน้ำแข็งจะมีปัญหาหลัก ๆ คือ

น้ำแข็งไม่สะอาด อาจทำให้ท้องเสีย , ท้องร่วง ,อาจเกิดโรคทางเดินอาหาร

หากคัลเซียมมีปริมาณสูงกว่าที่กำหนด และมักเนเซียม มีปริมาณต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานให้พิจารณาคัลเซียมและมักเนเซียมในเทอมของความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) ถ้ารวมความกระด้างทั้งหมดเมื่อคำนวณเป็นคัลเซียมคาร์บอเนต มีปริมาณต่ำกว่า 300 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ถือว่าน้ำนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการแบ่งระดับความกระด้างของน้ำดังต่อไปนี้

0 ถึง 75 มิลลิกรัมต่อลิตร เรียก น้ำอ่อน
75 ถึง 150 มิลลิกรัมต่อลิต เรียก น้ำกระด้างปานกลาง
150 ถึง 300 มิลลิกรัมต่อลิตร เรียก น้ำกระด้าง
300   มิลลิกรัมต่อลิตรขึ้นไป เรียก น้ำกระด้างมาก
แหล่งที่มา : ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องกำหนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2521

เครื่องทำน้ำแข็งICEman จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบน้ำ เพื่อให้ผู้บริโภค น้ำแข็งจาก เครื่องทำน้ำแข็งของบริษัทฯ เรา ได้บริโภคน้ำแข็งที่สะอาด

วิธีจัดส่งน้ำมาตรวจสอบ

  • แพ็คน้ำใส่ขวดน้ำโพลาลิตร และใช้สก๊อตเทป พันให้แน่น
  • บรรจุในกล่องไปรษณีย์ แล้วใช้กระดาษที่ไม่ใช้แล้ว ใส่ในกล่องให้แน่น อย่าให้เคลื่อนย้ายได้
  • จัดส่งมาตามที่อยู่ของบริษัทฯwater
Read More

365 วัน เครื่องทำน้ำแข็งICEmanประหยัดได้จริงหรือ

ทางเลือกใหม่ในการลดต้นทุน  และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ธุรกิจ ร้านค้า,ร้านอาหาร ,สถานบันเทิง,โรงเรียน ของท่าน

นั่นคือ ” เครื่องทำน้ำแข็งเกล็ด-ยูนิต” ที่สะอาดปราศจากสิ่งปลอมปนต่างๆ อีกทั้งใช้งานง่ายและประหยัดเนื้อที่ใช้สอย

ปริมาณการใช้น้ำแข็ง/วัน  ค่าใช้จ่ายในการ  ซื้อน้ำแข็งทั่วไป  ต้นทุนการใช้  เครื่องทำน้ำแข็งยูนิต ประหยัดค่าใช้จ่าย
 1 กระสอบ /20 กก/40 บาท 1 กก./2 บาท 1กก(kg.)/70-75สตางค์ Save cost!
กระสอบ กิโลกรัม วันละ เดือนละ ปีละ วันละ เดือนละ ปีละ เดือนละ ปีละ
    บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
2 40 80.00 2,400.00      28,800.00 28.00 840.00 10,080.00 1,560.00 18,720.00
4 80 160.00 4,800.00      57,600.00 56.00 1,680.00 20,160.00 3,120.00 37,440.00
8 160 320.00 9,600.00    115,200.00 112.00 3,360.00 40,320.00 6,240.00 74,880.00
12 240 480.00 14,400.00    172,800.00 168.00 5,040.00 60,480.00 9,360.00 112,320.00
15 300 600.00 18,000.00    216,000.00 210.00 6,300.00 75,600.00 11,700.00 140,400.00
วิธีการคำนวน/ 4 กระสอบx 20 บาท = 160 บาท x 30 วัน=  4,800 บาท 80 กก x 0.75 บาท = 56 บาท x 30 วัน =  1,680 บาท 4,800-1,680  57,600-20,160
Calculation 4,800 บาท x 12 เดือน = 57,600 บาท 1,680 บาท x 12 เดือน = 20,160  บาท 3,120.00 37,440.00
ปริมาณการใช้น้ำแข็ง/วัน  ค่าใช้จ่ายในการ  ซื้อน้ำแข็งทั่วไป  ต้นทุนการใช้ เครื่องทำน้ำแข็งเกล็ด ประหยัดค่าใช้จ่าย
 1 กระสอบ /20 กก/40 บาท 1 กก./1.75 บาท 1กก(kg.)/55-65สตางค์ Save cost!
กระสอบ กิโลกรัม วันละ เดือนละ ปีละ วันละ เดือนละ ปีละ เดือนละ ปีละ
    บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
5 100 175.00 5,250.00 63,000.00 65.00 1,950.00 23,400.00 3,300.00 39,000.00
8 160 280.00 8,400.00 100,800.00 104.00 3,120.00 37,440.00 5,280.00 63,360.00
10 200 350.00 10,500.00 126,000.00 130.00 3,900.00 46,800.00 6,600.00 79,200.00
13 260 455.00 13,650.00 163,800.00 169.00 5,070.00 60,840.00 8,580.00 102,960.00
18 360 630.00 18,900.00 226,800.00 234.00 7,020.00 84,240.00 11,880.00 142,560.00
20 400 700.00 21,000.00 252,000.00 260.00 7,800.00 93,600.00 13,200.00 158,400.00
25 500 875.00 26,250.00 315,000.00 325.00 9,750.00 117,000.00 16,500.00 198,000.00
วิธีการคำนวน/ 5กระสอบ x35บาท =175บาท x30 วัน=5,250 บาท 5 กระสอบ x 0.65 บาท= 65 บาท/x 30 วัน = 1950 บาท 5,250-1,950  63,000-23,400
Calculation  5,250บาท x 12เดือน= 63,200 บาท 1,950 บาท x 12 เดือน= 23,400 บาท 3,300.00 39,600.00
Read More

การผสมสารฟอร์มาลินลงในน้ำแข็งยูนิค เพื่อไม่ให้น้ำแข็งละลายเร็ว มีจริงหรือ

กรณีที่มีการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ถึงการผสมสารฟอร์มาลินลงในน้ำแข็งยูนิค เพื่อไม่ให้น้ำแข็งละลายเร็ว อย. ร่วมกับนักวิชาการทำการทดลอง  ผลปรากฏว่า น้ำแข็งที่ผสมฟอร์มาลิน จะมีลักษณะขุ่นทั้งก้อนและมีกลิ่นฉุน ผู้บริโภคจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

ส่วนการใส่คลอรีน ในน้ำบริโภค ก็เพื่อฆ่าเชื้อโรค ซึ่งสารนี้เป็นสารที่ระเหยง่าย จะถูกกำจัดในกระบวนการปรับคุณภาพน้ำ อยู่แล้ว แนะผู้บริโภคให้ซื้อน้ำแข็งและน้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท ฉลากมีเครื่องหมาย อย.  พร้อมเลขทะเบียนในกรอบ

นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ถึงการผสมสารฟอร์มาลินลงในน้ำแข็งยูนิคเพื่อใม่ให้น้ำแข็งละลายเร็ว และการใส่คลอรีนในน้ำบริโภคทุกวัน ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์น้ำแข็งและน้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิทอย่างเข้มงวด ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจ ในเรื่องความปลอดภัย สำหรับกรณีข่าวผสมสารฟอร์มาลินในน้ำแข็ง อย. ได้ประสานความร่วมมือกับอาจารย์จากสาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทำการทดลองถึงลักษณะและการละลายของน้ำแข็งที่ผสมฟอร์มาลินเปรียบเทียบกับน้ำแข็งธรรมดา ผลการทดลองปรากฏว่า น้ำแข็งที่ผสมฟอร์มาลินมีลักษณะขุ่นทั้งก้อนและ   มีกลิ่นฉุนของฟอร์มาลิน ในขณะที่น้ำแข็งธรรมดาจะมีส่วนที่ขุ่นอยู่ตรงกลางก้อน ส่วนเรื่องของการละลาย ช่วงแรกน้ำแข็งที่ผสมฟอร์มาลินจะละลายได้ช้ากว่า แต่เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า น้ำแข็งธรรมดาละลายได้ช้ากว่า  

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ฟอร์มาลินไม่มีส่วนช่วยในการทำให้น้ำแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็ง และหากในกระบวนการทำน้ำแข็งมีการใส่สารฟอร์มาลิน ผู้บริโภคสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนจากลักษณะของก้อนน้ำแข็งและกลิ่นฉุน ทั้งนี้ น้ำแข็งที่จำหน่ายทั่วไปนั้นจะต้องได้คุณภาพและมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำแข็ง โดยไม่อนุญาตให้มีการใส่สารฟอร์มาลิน ซึ่งเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยเด็ดขาด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 151) พ.ศ. 2536 เรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร หากตรวจพบว่ามีการลักลอบใส่ฟอร์มาลิน ถือเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6(5) พบวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ต้องระวางโทษตามมาตรา 47 ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ในกรณีของกลิ่นฉุน ที่ติดมากับน้ำแข็งนั้น อาจจะเกิดจากการรั่วของแอมโมเนีย ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นในกระบวนการผลิตน้ำแข็ง หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นฉุนดังกล่าว สามารถแจ้งมายัง อย. เพื่อทำการตรวจสอบต่อไปได้

ส่วนการใส่คลอรีนในน้ำ เนื่องจากกระบวนการผลิตน้ำบริโภคในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากน้ำผิวดิน ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค จึงมีความจำเป็นต้องใส่สารฆ่าเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่มาจากน้ำดิบก่อนเข้าสู่กระบวนการ คลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เนื่องจากเป็นสารที่สามารถควบคุมและเฝ้าระวังการใช้ได้ง่าย และระเหยง่ายกว่าสารฆ่าเชื้อชนิดอื่น ซึ่งปริมาณคลอรีนคงเหลือในน้ำดิบที่ผ่านกระบวนการแล้ว ต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 0.2 แต่ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร หลังจากนั้นน้ำดิบ   จะผ่านกระบวนการปรับคุณภาพน้ำ ซึ่งคลอรีนจะถูกกำจัดในกระบวนการดังกล่าว และเมื่อนำมาผลิต    เป็นน้ำบริโภค อย. ยังได้กำหนดให้น้ำบริโภคนั้น ต้องได้คุณภาพและมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทอีกด้วย

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอผู้บริโภคอย่าเพิ่งหลงเชื่อข่าวที่ส่งต่อทางสื่อออนไลน์ เพราะอาจไม่ใช่เรื่องจริง การเลือกซื้อน้ำแข็ง หากเป็นน้ำแข็งหลอดที่บรรจุถุง ควรสังเกตรายละเอียดบนฉลากให้ครบถ้วน เช่น เครื่องหมาย อย. พร้อมเลขสารบบอาหาร 13 หลัก และข้อความ “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” ด้วยอักษรสีน้ำเงิน ส่วนน้ำแข็งหลอดตักแบ่งขายตามร้านค้า ร้านอาหารทั่วไป  ผู้บริโภคควรสังเกตสถานที่เก็บและภาชนะที่บรรจุน้ำแข็งซึ่งต้องถูกสุขลักษณะ ไม่มีการใส่น้ำแข็งปนกับอาหารประเภทอื่น โดยก้อนน้ำแข็งเมื่อสังเกตด้วยตาเปล่าต้องมีความใส สะอาด ปราศจากเศษฝุ่นละอองปนเปื้อน ส่วนน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ควรเลือกซื้อโดยสังเกตจากภาชนะบรรจุ ต้องสะอาด ไม่มีตะไคร่น้ำ ปิดสนิท ไม่รั่วซึม ไม่มีร่องรอยการเปิดใช้ มีเครื่องหมาย อย. แสดงบนฉลาก ลักษณะของน้ำที่บรรจุอยู่ต้องใสสะอาด ไม่มีตะกอน ไม่มีสี กลิ่น รสที่ผิดปกติ

ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th  หรือตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป

******************************************************************

กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค  10 เมษายน 2558  ข่าวแจก 52 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

Read More

หลักการติดตั้ง “เครื่องทำน้ำแข็ง” ที่ดี

ice-machine-installation

หลักการติดตั้งเครื่องทำน้ำแข็งที่ดี

ในการติดตั้งเครื่องทำน้ำแข็งนั้น เราต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลักใน 2 ส่วน คือ

1.  ความต้องการของระบบ

ในการผลิตน้ำแข็งด้วยเครื่องทำน้ำแข็งนั้น เรามีปัจจัยที่สำคัญ 2 อย่างคือ ไฟฟ้าและน้ำ

1.1  ระบบไฟฟ้า

• ระบบไฟฟ้าที่จะจ่ายเข้าเครื่องจะต้องเป็นระดับแรงเคลื่อนที่ตรงกับระบบของเครื่อง
• ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องจะต้องมีชุดเบรกเกอร์ควบคุมไฟฟ้า จากตู้จ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องผลิตน้ำแข็ง และต้องแยกใช้เฉพาะ โดยเบรคเกอร์จะต้องมีความทนทานกระแสได้ไม่ต่ำกว่าขนาดของเครื่องแต่ละรุ่น
• ขนาดของสายไฟที่นำมาใช้ จะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 2 x 4 mm2 หรือสามารถทนกระแสตามข้อระบุ หรือขนาดของเครื่องแต่ละรุ่นได้    • การเดินสายจากตู้เบรคเกอร์ไปยังเครื่องจะต้องเดินในท่อสายไฟเสมอ

1.2  ระบบน้ำ

• น้ำที่จ่ายเข้าเครื่องจะต้องเป็นน้ำที่สะอาด ผ่านการกรองจากเครื่องกรองน้ำทุกครั้ง
• ระบบจ่ายน้ำเข้าเครื่องทำน้ำแข็งจะต้องมีวาล์ว เปิด-ปิด สำหรับการควบคุม ปริมาณน้ำและปรับระดับแรงดันของน้ำที่ไหลเข้าเครื่องให้สมดุล (ประมาณ 15 PSIG)
• จะต้องติดตั้งระบบน้ำทิ้งจากชุดถาดรองรับน้ำของเครื่องผลิตน้ำแข็งส่งต่อไปยังท่อระบายน้ำ

2.  พื้นที่ตั้งเครื่อง

เนื่องจากเครื่องทำน้ำแข็งนั้น มีขนาดแตกต่างกันตามปริมาณการใช้งาน การเลือกสถานที่สำหรับตั้งเครื่องทำน้ำแข็ง
ในแต่ละรุ่นจึงจำเป็นต้องดูให้เหมาะสม โดยนอกเหนือจากขนาดพื้นที่สำหรับวางเครื่องที่เหมาะสมพอดี
เรายังควรคำนึงรายละเอียดอื่นๆดังนี้

2.1 พื้นที่ตั้งเครื่องทำน้ำแข็ง

• พื้นที่ตั้งเครื่องทำน้ำแข็งจะต้องเป็นพื้นที่แข็งแรงไม่ทรุดตัวได้ และพื้นหน้าเป็นระนาบสม่ำเสมอ
• ควรเป็นพื้นที่ร่ม หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง

2.2 ระบบการถ่ายเทอากาศ

• มีระบบการไหลเวียนของอากาศที่ดี โดยมีช่องทางลมให้สามารถระบายอากาศได้

การติตตั้งเครื่องทำน้ำแข็งหากท่านสนใจ อยากปรึกษาเรื่องการติดตั้งเครื่องทำน้ำแข็ง หรือสอบถามปัญหาการใช้งานเครื่องทำน้ำแข็ง
สามารถติดต่อเราได้ทาง โทร. 0-2903-8972-3, 08-3251-7787, 08-1834-8183
ทีมงาน ICEman ภายในการควบคุมดูแลของ บริษัท นิวตั้น แอสโซซิเอท จำกัด
ยินดีให้คำแนะนำ ปรึกษา ตลอดจนบริการต่างๆในทุกเรื่องเกี่ยวกับ เครื่องทำน้ำแข็ง

Read More

ประโยชน์ของ “น้ำแข็ง” ที่คุณยังไม่รู้

OLYMPUS DIGITAL CAMERA
OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ประโยชน์ของ “ก้อนน้ำแข็ง”

บทความแนะนำถึงคุณประโยชน์ของ “ก้อนน้ำแข็ง” ที่หลายๆคนมองข้ามมันไป … นอกจากจะใส่ในน้ำดื่มให้เย็นชื่นใจแล้ว มันยังช่วยในการบ่งหนามที่ตำมือเราให้ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งขจัดปัญหาท่ออุดตันได้เป็นอย่างดี มาดูกันว่ามันมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง

• รดน้ำต้นไม้ที่แขวนอยู่

ถ้าคุณลำบากกับการยืนบนบันไดและเอื้อมมือจนสุดตัวเพื่อรดน้ำต้นไม้ที่แขวนอยู่ในมุมอับ ก้อนน้ำแข็งจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แค่โยนน้ำแข็งหลายๆก้อนเข้าไปในกระถาง เมื่อน้ำแข็งละลาย ก็จะทำให้ต้นไม้ชุ่มชื้น โดยไม่ต้องอาศัยฝักบัวแม้แต่น้อย วิธีนี้ยังใช้ได้ดีกับต้นไม้ภายในบ้านซึ่งคุณอาจรดน้ำแล้วเลอะพื้นหรือพรมอีกด้วย

• กลบเกลื่อนรสยา

ไม่ว่าเภสัชผู้ปรุงยาจะสรรหาวิธีใดมากลบเกลื่อนรสยาก็ตาม แต่เด็กๆก็ยังไม่วายออกอาการรังเกียจยาอยู่ดี วิธีแก้คือให้เด็กอมน้ำแข็งแล้วค่อยกินยา ความเย็นของน้ำแข็งจะทำให้ตุ่มรับรสชาไปชั่วขณะและทำให้เด็กกลืนยาได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล

• ขัดรอยปูนยาแนวให้เรียบ

ในขณะที่กำลังเกลี่ยนปูนยาแนวรอบอ่างอาบน้ำ คุณรู้สึกว่าปูนเหนียว คอยติดอยู่ที่มือตลอดเวลา ถ้าไม่ทำอะไรซักอย่าง ผลงานของคุณจะออกมาน่าเกลียดมาก แก้ปัญหานี้ด้วยการหาก้อนน้ำแข็งมาไล๊ไปตามแนวปูน ซึ่งนอกจากจะทำให้ปูนไม่เหนียวเหนอะติดมือของคุณแล้ว เมื่อแห้งปูนยังจะเนียนสวยอีกด้วย

• บ่งหนาม

ปัญหาท้าทายพ่อแม่อย่างหนึ่ง คือ การบ่งเสี้ยนออกจากมือของลูกน้อยที่เอาแต่ร้องสลับดิ้นพราดๆ ก่อนจะใช้เข็มจัดการจัดการกับเจ้าเสี้ยนเจ้าปัญหาขอให้คุณหยิบก้อนน้ำแข็งมาทาบริเวณที่เสี้ยนตำจนชาเสียก่อน วิธีนี้จะทำให้ลูกน้อยของคุณเจ็บน้อยลง

• ขจัดรอยบุ๋มบนพรม

ถ้าเมื่อเร็วๆนี้คุณโยกย้ายเครื่องเรือนจัดห้องรับแขกใหม่ แล้วพบว่าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นต่าง ล้วนฝากรอยบุ๋มไว้บนพรมของคุณ ขจัดได้ง่ายมากด้วยน้ำแข็ง ตัวอย่างเช่น เพียงวางก้อนน้ำแข็งบนรอบบุ๋มซึ่งเป็นจุดที่ขาเก้าอี้เคยตั้งอยู่ เมื่อน้ำแข็งละลายก็แปรงขนบริเวณนั้นให้เรียบ ไม่นานพรมจะฟูคืนรูปเหมือนส่วนอื่นๆ

• ช่วยให้รีดเสื้อผ้าให้เรียบไม่มีที่ติ

เสื้อตัวโปรดของคุณมีรอยยับยุบยั่บเต็มไปหมด แต่คุณไม่มีเวลาซักเพื่อรีดใหม่ ไม่ยากเลย แค่เปิดเตารีดให้ร้อน แล้วหาผ้านุ่มๆมาห่อก้อนนำแข็งไว้ แล้วให้ถูห่อก้อนน้ำแข็งตรงรอบยับย่น ก่อนลงมือรีดตามปกติ เพียงเท่านี้เสื้อตัวโปรดของคุณก็เรียบและพร้อมรับใช้คุณอีกครั้ง

• ป้องกันแผลไฟไหม้เกิดอาการพุพอง

คุณโดนไฟไหม้ใช่ไหม ไม่ต้องตกใจหาน้ำแข็งมาประคบบริเวณรอยไหม้เพื่อป้องกันไม่ให้พุพอง

• ขจัดปัญหาท่อน้ำอุดตัน

ถ้าท่อระบายน้ำของคุณมีอาการติดขัด น้ำไหลไม่สะดวกเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะไขมันจากอาหาร เครื่องดื่มประเภทนม หรือกาแฟใส่ครีมไปอุดตันอยู่ โดยค่อยๆสะสมคราบอยู่ตามน้ำทิ้งที่เราตามไปกำจัดได้ยาก หากการอุดตันไม่มีสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ไปขัดขวางของทางเดินน้ำเช่นนี้แล้ว น้ำแข็งช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยโยนน้ำแข็งก้อนเล็กๆลงไปในท่อ ไขมันจะมาเกาะอยู่ตามก้อนน้ำแข็งให้ท่อโล่งขึ้นเพราะปราศจากสิ่งตกค้างเกาะติดผนังท่อ อีกวิธีหนึ่งใช้น้ำแข็งประมาณ 1 กำมือ คลุกเข้ากับเบกกิ้งโซดา 1/2 ถ้วยจะช่วยขัดล้างภายในท่อได้สะอาดปลอดภัย ถ้าอยากขจัดกลิ่นด้วย เติมเปลือกมะนาวหรือส้มหั่นละเอียดใส่ลงไปด้วยเป็นครั้งคราว

• ลดไขมันในซุปและสตูว์

อยากขจัดไขมันออกจากซุปหรือสตูว์ที่ทำเองให้มากที่สุดใช่หรือไม่ เรื่องนี้ง่ายนิดเดียว เพียงแต่เอาน้ำแข็งใส่ให้เต็มทัพพีแล้วจุ่มก้นทัพพีลงในหม้อซุปหรือหม้อสตูว์ไขมันจะมาเกาะอยู่ที่ก้นทัพพี

• ทำให้น้ำสลัดเหนียวข้น

คุณอยากให้น้ำสลัดที่ปรุงขึ้นเองกับมือมีลักษณะเหนียวข้นเหมือนกับน้ำสลัดที่บรรจุขวดขายใช่ไหม ลองวิธีต่อไปนี้ ในส่วนผสมของน้ำสลัดทุกอย่างในชามที่มีฝาปิดแล้วเติมน้ำแข็งลงไปซัก 2-3 ก้อน ปิดฝาชามแล้วเขย่าอย่างเต็มที่ ตักน้ำแข็งออก แค่นี้คุณก็ได้น้ำสลัดพร้อมเสิร์ฟซึ่งจะทำให้แขกของคุณประทับใจ เพราะมันทั้งเหนียวและข้นน่ารับประทานจริงๆ

• อุ่นข้าวให้ร้อนอีกครั้ง

ปัญหาอย่างหนึ่งคือเวลาอุ่นข้าวในไมโครเวฟคือข้าวแห้ง วิธีแก้คือวางก้อนน้ำแข็งก้อนหนึ่งลงบนข้าวที่จะอุ่นในเตาไมโครเวฟ น้ำแข็งจะละลายขณะข้าวเริ่มร้อนขึ้นมาทำให้ข้าวได้รับความชื้นไปทดแทนส่วนที่สูญเสียไป

• ป้องกันซอสไม่ให้จับตัวเป็นก้อน

ถ้าบังเอิญเพื่อนในหมู่บ้านเดียวกันซึ่งเป็นคนที่ชอบนินทาลับหลัง แวะมากินข้าวบ้านคุณในตอนสายของวันอาทิตย์ อาหารที่คุณเตรียมไว้คือไข่เบเนดิกต์ แต่ขณะที่คุณกำลังผสมเนยแข็งกับไข่แดงและน้ำมะนาวเข้าด้วยกันเพื่อทำเป็นซอสสไตล์ฮอลแลนด์ ปรากฎว่ามันจับตัวเป็นก้อน คุณจะทำอย่างไรดีซอสถึงไม่จับเป็นก้อนอย่างนี้ วิธีแก้ไขคือ ใส่น้ำแข็งก้อนลงในกระทะแล้วคนไปเรื่อยๆ ไม่นานซอสของคุณก็จะเหนียวข้นน่ากินอย่างที่คุณหวังไว้

• น้ำเย็นชื่นใจสำหรับสัตว์เลี้ยงของคุณ

ลองนึกภาพว่าคุณรู้สึกร้อนแค่ไหนถ้าต้องสวมเสื้อขนสัตว์ในช่วงฤดูร้อน สัตว์เลี้ยงของคุณก็รู้สึกเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายหรือหนูแฮมสเตอร์ พวกมันจะต้องสำนึกในบุญคุณของคุณที่เอาใจใส่มันเป็นอย่างดีถ้าคุณเอาน้ำแข็งสัก 2-3 ก้อนมาวางในถ้วยใส่น้ำให้มันเพื่อคลายร้อน วิธีนี้ใช้ได้ดีกับเจ้าเหมียวซึ่งชอบนอนเขลงอยู่บนเตียงของคุณในเช้าอากาศร้อน หรือเจ้าตูบซึ่งเพิ่งวิ่งเล่นจนลิ้นห้อยอยู่ในสวน

• ช่วยทำความสะอาดพรมหน้าบ้าน

พรมหน้าบ้านเป็นจุดที่รับงานหนักที่สุด บางทีมีรอยเทียนไขหยดใส่ หรือหมากฝรั่งเอาพรมมาปัดฝุ่นตีออกก็แล้ว รอยดื้อด้านดังกล่าวยังอยู่ลองใช้น้ำแข็งถูลอยเทียนไขหรือหมากฝรั่ง พอโดนความเย็นมันจะแข็งกรอบ เอาอะไรแข็งๆขูดออกได้

• กำจัดสีเทียนที่พื้นไม้หรือเครื่องเรือน

หนูน้อยละเลงสีเทียนออกนอกจากกระดาษเลอะพื้นหรือเครื่องเรือนบ่อยๆ บางทีก็จงใจใช้พื้นแทนกระดาษเสียเลย ทำความสะอาดอย่างไรดีล่ะเนี่ย ไม่อยากหรอก ใช้น้ำแข็งถูรอยเปื้อนก่อนและขูดออกได้ง่าย

• ขจัดหมากฝรั่งจากเสื้อผ้า

คุณกำลังก้าวออกจากบ้าน ในทันใดนั้นลูกชายตัวดีชี้ให้ดูว่ามีหมากฝรั่งติดอยู่ที่กางเกงของเขา ใจเย็นๆ อย่าโวยวาย จงวิ่งไปหยิบน้ำแข็งมาก้อนหนึ่งแล้วถูตรงหมากฝรั่งแรงๆ เพื่อให้มันแข็งตัวจากนั้นใช้ช้อนขูดออกให้สะอาด

• แก้ปวดฟัน

ไม่น่าเชื่อ แถมอธิบายไม่ได้ แต่ได้ผลน่าพอใจ ลองดูไหม ใช้น้ำแข็งวางบนหลังมือบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ของมือข้างเดียวกับฟันที่ปวด สักพักอาการปวดจะบรรเทาว่ากันว่าจุดที่วางน้ำแข็งนั้นเป้นจุดที่ใช้ฝังเข็มบรรเทาอาการปวดฟันนั่นเอง

• กำจัดสีเทียนที่พื้นไม้หรือเครื่องเรือน

หนูน้อยละเลงสีเทียนออกนอกจากกระดาษเลอะพื้นหรือเครื่องเรือนบ่อยๆ บางทีก็จงใจใช้พื้นแทนกระดาษเสียเลย ทำความสะอาดอย่างไรดีล่ะเนี่ย ไม่อยากหรอก ใช้น้ำแข็งถูรอยเปื้อนก่อนและขูดออกได้ง่าย

ไม่น่าเชื่อว่า ประโยชน์จากเจ้า “ก้อนน้ำแข็ง” ที่เรามองข้ามไป จะมีมากถึงเพียงนี้ เมื่อเรารู้เทคนิคที่ไม่คาดคิดเหล่านี้แล้ว ต่อจากนี้เราคงจะใช้ประโยชน์จากก้อนน้ำแข็งได้หลายหลากมากยิ่งขึ้น

ที่มา http://www.bareo-isyss.com/67/67_ice.html

Read More

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “น้ำแข็ง”

เครื่องทำน้ำแข็งสะอาด2

เครื่องทำน้ำแข็ง ICEman ขอเป็นส่วนหนึ่งบทความดี ๆ จาก อ.ย.

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อน และนับวันจะร้อนมากขึ้นทุกที สภาพอากาศ ร้อนเช่นนี้ “น้ำแข็ง” จึงเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เข้ามามีบทบาท สำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน เพราะน้ำแข็ง จะช่วยบรรเทาให้คลายร้อน จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย นอกจากจะนำน้ำแข็งมารับประทาน โดยตรงแล้ว ยังมีการนำน้ำแข็งมาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น ผสมเครื่องดื่ม ใช้แช่อาหารสดเพื่อถนอมอาหาร รักษาสภาพของอาหาร และใช้ในอุตสาหกรรมประมง เป็นต้น หากน้ำแข็งที่ใช้รับประทานโดยตรงไม่สะอาดพอ มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคปนเปื้อนอยู่ก็อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการป่วยจากโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคน้ำแข็ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงควบคุมการผลิตโดยการกำหนดคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 78 (พ.ศ.2527) และ ฉบับที่ 137 (พ.ศ.2534) เรื่อง น้ำแข็ง เพื่อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน กรรมวิธีการผลิต การใช้น้ำในการผลิต สถานที่เก็บรักษาน้ำแข็ง การใช้ภาชนะบรรจุน้ำแข็ง ตลอดจนการแสดงฉลาก เรื่องน่ารู้ที่เกี่ยวกับน้ำแข็งยังมีอีกมากมายหลายเรื่อง ติดตามอ่านกันได้…

ความหมายของน้ำแข็ง

น้ำแข็ง” หมายถึง น้ำที่นำมาผ่านกรรมวิธีทำให้เยือกแข็ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิตดังนี้

1. น้ำแข็งชนิดซอง เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ

1.1 น้ำแข็งใช้รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส
1.2 น้ำแข็งใช้รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล กรรมวิธีเช่นเดียวกับน้ำแข็งที่ใช้รับประทานได้เพียงแต่ไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้กึ่งกลางก้อนน้ำแข็งไม่ใส มีสีขาวขุ่น

2. น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อนหรือหลอดหรือเกล็ด ซึ่งมักเรียกกันติดปากว่า “น้ำแข็งหลอด”

โดยจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้วเข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ

กรรมวิธีการผลิตน้ำแข็ง

ในการผลิตน้ำแข็งไม่ว่าจะเป็นน้ำแข็งซองหรือน้ำแข็งหลอดจำเป็นต้องเริ่มต้นจากสถานที่การผลิตที่ถูกสุขลักษณะ การควบคุมการผลิตที่ถูกต้อง รวมทั้งการควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต หรือ จีเอ็มพี (GMP : Good Manufacturing Practice) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ตามหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหารว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไป การผลิตน้ำแข็งซองและน้ำแข็งหลอดประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

1. กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เป็นกระบวนการปรับปรุงน้ำดิบ ให้มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำบริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

2. กระบวนการแช่แข็งน้ำ มี 2 ลักษณะ คือ
– น้ำแข็งซอง เป็นกระบวนการแช่น้ำให้แข็งในบ่อน้ำเกลือ ซึ่งมีสารทำความเย็นหล่อน้ำเกลือให้เย็นและกระจายความเย็นไปยังซองน้ำแข็ง ทำให้น้ำในซองแข็งตัวจนเต็มทั้งซอง จึงยกขึ้นถอดซองน้ำแข็งออก
– น้ำแข็งหลอด เป็นกระบวนการทำให้น้ำเป็นน้ำแข็งภายในเครื่องผลิตน้ำแข็งหลอดระบบปิด

3. กระบวนการบรรจุและขนส่ง
– น้ำแข็งซอง ไม่มีการบรรจุ เพียงฉีดน้ำล้างทำความสะอาดภายนอก ตัดเป็นก้อนแล้วนำขึ้นรถขนส่ง บางครั้งจะมีการบด บรรจุกระสอบแล้วนำขึ้นรถขนส่ง
– น้ำแข็งหลอด มีการบรรจุในถุงพลาสติก ขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม และบรรจุในกระสอบ ขนาดบรรจุ 20 กิโลกรัม หลังจากนั้นจัดเก็บแล้วนำขึ้นรถขนส่งเพื่อจำหน่ายต่อไป

คุณสมบัติของน้ำที่ใช้ผลิตน้ำแข็ง

การผลิตน้ำแข็งเพื่อจำหน่ายที่มีวัตถุประสงค์ให้ใช้รับประทานนั้น จะต้องใช้น้ำสะอาดและได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 78 (พ.ศ.2527) และฉบับที่ 137 (พ.ศ.2534) เรื่อง น้ำแข็ง ดังต่อไปนี้

1. คุณสมบัติทางฟิสิกส์ น้ำที่นำมาผลิตน้ำแข็งจะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่จะไม่รวมถึงกลิ่นคลอรีน ความขุ่นจะต้องไม่เกิน 5.0 ซิลิกาสเกล และค่าความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 6.5 ถึง 8.5

2. คุณสมบัติทางเคมี น้ำที่นำมาผลิตน้ำแข็งจะต้องมีคุณสมบัติทางเคมี เช่น ปริมาณสาร ทั้งหมด (Total-Solid) ไม่เกิน 500.0 มิลลิกรัมต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร ความกระด้างทั้งหมด โดยคำนวณเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตไม่เกิน 100.0 มิลลิกรัมต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร แคดเมียมไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัมต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร และเหล็กไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร เป็นต้น

3. คุณสมบัติเกี่ยวกับจุลินทรีย์ น้ำที่นำมาผลิตน้ำแข็งจะต้องไม่มีบักเตรีชนิด อี.โคไล (Escherichia Coli) ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค และตรวจพบบักเตรีชนิดโคลิฟอร์มน้อยกว่า 2.2 ต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร โดยวิธี เอ็มพีเอ็น (Most Probable Number)

การเก็บรักษาและภาชนะบรรจุ

ในการจำหน่ายน้ำแข็ง จำเป็นต้องมีวิธีเก็บรักษา สถานที่เก็บรักษาและภาชนะบรรจุที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคน้ำแข็ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ในการเก็บรักษาน้ำแข็ง ห้ามมิให้ใช้แกลบ ขี้เลื่อย กระสอบ กาบมะพร้าว เสื่อ หรือวัสดุอย่างอื่นในทำนองเดียวกันปกคลุมหรือห่อหุ้มน้ำแข็ง

2. สถานที่เก็บรักษาน้ำแข็งเพื่อจำหน่ายหรือที่จำหน่ายน้ำแข็งที่มีวัตถุประสงค์ใช้รับประทานจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
– สะอาดและมีระดับสูงกว่าทางเดินภายในบริเวณสถานที่เก็บรักษาน้ำแข็ง
– ทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษและเป็นวัสดุพื้นผิวเรียบ รักษาความสะอาดได้ง่าย
– มีลักษณะที่ง่ายต่อการทำความสะอาดและมีลักษณะปกปิดที่ป้องกันมิให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากภายนอกปนเปื้อนน้ำแข็งได้

3. ภาชนะบรรจุที่ใช้บรรจุน้ำแข็งเพื่อจำหน่ายหรือที่จำหน่ายน้ำแข็งที่มีวัตถุประสงค์ใช้ รับประทานจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
– ภาชนะต้องสะอาด ไม่มีโลหะหนัก หรือสารอื่นออกมาปนเปื้อนกับน้ำแข็งในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
– ต้องไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค และไม่มีสีออกมาปนเปื้อนกับอาหาร
– ต้องไม่เคยใช้บรรจุหรือหุ้มห่อปุ๋ย วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
– ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษและเป็นวัสดุพื้นผิวเรียบ รักษาความสะอาดได้ง่าย
– ต้องง่ายต่อการทำความสะอาด และมีลักษณะปกปิดป้องกันมิให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากภายนอกมาปนเปื้อนน้ำแข็งได้
– ต้องไม่เคยบรรจุผลิตภัณฑ์อื่นนอกจากน้ำแข็ง และไม่มีรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใดที่แสดงว่าเป็นภาชนะบรรจุที่ใช้บรรจุสิ่งของอื่น
– ภาชนะบรรจุพลาสติกที่เป็นแผ่นหรือถุงจะต้องไม่มีสี หรือไม่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้ว ยกเว้นกรณีพลาสติกลามิเนต (Laminate) เฉพาะชั้นที่ไม่สัมผัสโดยตรงกับอาหาร

บริโภคน้ำแข็งอย่างไรให้ปลอดภัย

เพื่อให้น้ำแข็งที่จำหน่ายหรือบริโภคสะอาดปลอดภัยไม่มีสิ่งปนเปื้อน โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ขนส่ง และผู้บริโภคควรจะต้องปฏิบัติดังนี้

1. ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ขนส่ง วิธีการที่จะช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ได้ คือ ขณะทำการขนส่งน้ำแข็งควรมีภาชนะรองรับ ไม่วางกับพื้นโดยตรง หากจำเป็นหรือมีข้อจำกัดของพื้นที่ ขอให้แยกพื้นที่ที่ทำการขนส่งเป็นสัดส่วน และทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะก่อนทำการขนส่ง นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงาน ณ บริเวณขนส่งควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด ล้างมือทุกครั้งก่อนปฏิบัติงาน สวมรองเท้าที่สะอาด และควรเป็นรองเท้าคนละคู่กับรองเท้าที่ปนเปื้อนจากนอกบริเวณขนส่ง ไม่สูบบุหรี่หรือมีพฤติกรรม อื่น ๆ ที่น่ารังเกียจขณะทำการขนส่งและที่สำคัญห้ามใช้เท้าสัมผัสน้ำแข็ง ในส่วนของรถขนส่งนั้น ต้องเป็นรถที่สะอาด โดยเฉพาะพื้นรถที่วางน้ำแข็งต้องมีการล้างฆ่าเชื้อก่อนทำการขน และมีมาตรการควบคุมอุณหภูมิน้ำแข็งให้สม่ำเสมอ

2. ผู้บริโภค ก่อนจะซื้อน้ำแข็งควรจะต้องเลือกซื้ออย่างระมัดระวัง สำหรับน้ำแข็งหลอดที่บรรจุถุงผู้บริโภคควรจะต้องสังเกตรายละเอียดบนฉลากฉลากต้องมีข้อความภาษาไทย แต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียด ดังต่อไปนี้

– ชื่ออาหาร (ถ้ามี)
– เลขสารบบอาหาร ในเครื่องหมาย อย. เช่น
– ข้อความว่า “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” ด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน
– ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต
– น้ำหนักสุทธิเป็นระบบเมตริก

นอกจากนี้น้ำแข็งหลอดที่ตักแบ่งจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป หรือตามร้านอาหารจะเป็นน้ำแข็งที่จำหน่ายโดยไม่ต้องมีฉลาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคน้ำแข็งดังกล่าว ผู้บริโภคควรสังเกตน้ำแข็ง สถานที่เก็บรักษา ภาชนะที่บรรจุต้องสะอาดไม่มีการปนเปื้อน หากเป็นน้ำแข็งซองควรซื้อมาบริโภคทั้งก้อน โดยนำมาล้างน้ำให้สะอาดก่อนทุบหรือบด และเมื่อทุบหรือบดแล้วก็ควรใส่ไว้ในภาชนะบรรจุที่สะอาดด้วยจะเห็นได้ว่าการผลิตน้ำแข็งบริโภคนั้น จะต้องผ่านกระบวนการหลายอย่างกว่าจะถึงมือผู้บริโภค ถ้าหากผู้ผลิตไม่มีความระมัดระวังตั้งแต่ต้น เริ่มจาก คุณภาพของน้ำที่นำมาผลิต การเก็บ การขนส่ง รวมถึงภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำแข็ง หากไม่สะอาดพอก็อาจก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคได้ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้ควบคุมผู้ผลิตน้ำแข็งเพื่อจำหน่ายในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ต้องมีวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ต้องมีการควบคุมกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับ ข้อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต หรือ จีเอ็มพี เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนดังกล่าว หากฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนในด้านผู้บริโภค ก่อนที่จะซื้อน้ำแข็งก็ควรจะระมัดระวังในการเลือกซื้อมาบริโภค โดยการสังเกตฉลากน้ำแข็ง สถานที่เก็บรักษา และภาชนะบรรจุต้องสะอาด เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคด้วย

Read More